เมนู

แล้ว เมื่อภิกษุทำปาณาติบาตอยู่ในสัตว์ทั้งหลาย ในฐานะเช่นนี้ ก็ไม่มีโทษ
ดังนี้ เมื่อจะเจาะเอาพระเถระนี้เป็นทิฏฐานุคติ อย่าได้สำเหนียกกรรมที่จะพึง
เบียดเบียน คือ ทรมานหมู่สัตว์ เหมือนอย่างพระเถระทำแล้วนั้นเลย.

[

ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้สร้างกุฎีด้วยดินล้วน

]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงตำหนิพระธนิยะอย่างนั้นแล้ว จึงทรง
ห้ามการทำกุฎีเช่นนั้นต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อันภิกษุไม่ควรทำกุฎีสำเร็จ
ด้วยดินล้วน ก็แล ครั้นทรงห้ามแล้ว จึงทรงปรับอาบัติไว้ เพราะการทำกุฎี
สำเร็จด้วยดินล้วนว่า ภิกษุใด พึงทำ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ. เพราะเหตุ
นั้น ภิกษุแม้รูปใด เมื่อยังไม่ถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์ เพราะกิจมีการขุดดิน
เป็นต้น ทำกุฎีเช่นนั้น ภิกษุแม้รูปนั้น ย่อมต้องทุกกฏ. แต่ภิกษุผู้ถึงความ
เบียดเบียนหมู่สัตว์ เพราะกิจมีการขุดดินเป็นต้น ย่อมต้องอาบัติที่ท่านปรับ
ไว้ตามวัตถุที่ตนล่วงละเมิดทีเดียว. พระธนิยะเถระ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะ
เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้. ภิกษุที่เหลือ ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททำก็ดี ได้
กุฎีที่ผู้อื่นทำแล้วอยู่ในกุฎีนั้นก็ดี เป็นทุกกฏแท้แล. ส่วนกุฎีที่สร้างผสมด้วย
ทัพสัมภาระ จะเป็นของผสมด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ย่อมควร. กุฎีที่สำเร็จ
ด้วยดินล้วนนั่นแล ไม่ควร. ถึงแม้กุฎีนั้น ที่ก่อด้วยอิฐ โดยอาการเช่นกับ
โรงพักที่สร้างด้วยอิฐ ก็ควร.

[

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งให้ทำลายกุฎีเป็นอกัปปิยะ

]
หลายบทว่า เอวมฺภนฺเตติ โข ฯ เป ฯ ตํ กุฏีกํ ภินฺทึสุ ความว่า
ภิกษุเหล่านั้น รับพระพุทธาณัติแล้ว ก็เอาไม้และหินทำลายกุฎีนั้นให้กระจัด
กระจายแล้ว.

ในคำว่า อถโข อายสฺมา ธนิโย เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อ
ไปนี้:-
พระธนิยะ นั่งพักกลางวันอยู่ที่ข้าง ๆ หนึ่ง จึงได้มาเพราะเสียงนั้น
แล้วถามภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโส! พวกท่านทำลายกุฎีของผม เพื่ออะไร?
แล้วได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้พวกกระผมทำลาย จึงได้ยอมรับ
เพราะเป็นผู้ว่าง่าย.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงรับสั่งให้ทำลายกุฎีที่
พระเถระนี้ทำด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ยิ่งเพื่อเป็นที่อยู่ของตน, แม้การงาน
( คือสิ่งของเช่นบานประตูเป็นต้น ) ที่ยังใช้การได้ ในกุฎีนี้ของพระเถระนั้น
มีอยู่มิใช่หรือ ?
แก้ว่า มีอยู่ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัย
ว่า กุฎีที่พระธนิยะทำนี้ เป็นของไม่สมควร จึงรับสั่งให้ทำลายกุฎีนั้นเสีย คือ
ที่รับสั่งให้ทำลายเสีย เพราะว่า เป็นธงของเดียรถีย์.
ในอธิการว่าด้วยการทำลายกุฎีนี้ มีวินิจฉัยเท่านี้. ส่วนในอรรถกถา
พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเหตุหลายอย่างแม้อื่นมีอาทิว่า เพื่อความเอ็นดูสัตว์
เพื่อต้องการรักษาบาตรและจีวร เพื่อป้องกันความเป็นผู้มีเสนาสนะมาก.เพราะ
ฉะนั้น แม้ในบัดนี้ ภิกษุรูปใดเป็นพหูสูต รู้พระวินัย พบเห็นภิกษุรูป
อื่น ผู้ถือบริขารที่เป็นอกัปปิยะเที่ยวไปอยู่ ควรให้เธอตัด หรือ ทำลายบริขาร
ที่ไม่ควรนั้นเสีย, ภิกษุรูปนั้นอันใคร ๆ จะยกโทษขึ้นว่ากล่าวไม่ได้ คือจะพึง
ทักท้วงไม่ได้ จะพึงให้เธอให้การไม่ได้ ทั้งใคร ๆ ไม่ได้เพื่อจะว่ากล่าวเธอว่า
ท่านทำให้บริขารของผมฉิบหายแล้ว, จงให้บริขารนั้นแก่กระผม.

[

ข้อแนะนำเรื่องการใช้ร่มและจีวร

]
ในอธิการว่าด้วยทุติยปาราชิกนั้น มีวินิจฉัยบริขารที่เป็นกัปปิยะ และ
อกัปปิยะนอกจากบาลีดังต่อไปนี้ :-
ชนบางพวก เอาด้ายเบญจพรรณเย็บร่มใบตาลติดกันทั้งภายในภาย
นอก แล้วทำให้มีสีเกลี้ยงเกลา, ร่มเช่นนั้นไม่ควร. แต่จะเอาด้ายอย่างใด
อย่างหนึ่ง จะเขียวหรือเหลืองซึ่งมีสีอย่างเดียวกัน เย็บติดกันทั้งภายในและ
ภายนอก หรือจะมัดซี่กรงตรึงยึดคันร่มไว้ ควรอยู่. ก็แล การเย็บและการ
มัดรวมกันไว้นั้น เพื่อทำให้ทนทานจึงควร เพื่อจะทำให้มีสีเกลี้ยงเกลา ไม่ควร,
ในใบร่ม จะสลักรูปฟันมังกร หรือรูปพระจันทร์ครึ่งซีกติดไว้ ไม่ควร. ที่
คันร่ม จะมีรูปหม้อน้ำ หรือรูปสัตว์ร้าย เหมือนที่เขาทำไว้ในเสาเรือน ไม่
ควร. แม้หากว่าที่คันร่มทั้งหมด เขาเอาเหล็กจารเขียนสลักลวดลายไว้ไซร้,
แม้ลวดลายนั้น ก็ไม่ควร. รูปหม้อน้ำก็ดี รูปสัตว์ร้ายก็ดี ควรทำลายเสียก่อน
จึงใช้ ควรขูดลวดลายแม้นั้นออก หรือเอาด้ายพันด้ามเสีย. แต่ที่โคนด้าม
จะมีสัณฐานเหมือนเห็ดหัวงู ควรอยู่. พวกช่างทำร่ม เอาเชือกมัดวงกลมของ
ร่มผูกมัดไว้ที่คัน เพื่อกันไม่ให้โยกเยก เพราะถูกลมพัด. ในที่ ๆ ผูกมัดไว้นั้น
เขายกตั้งวางลวดลายไว้ เหมือนวลัย, ลวดลายนั้น ควรอยู่. พวกภิกษุเอา
ด้ายสีต่าง ๆ เย็บเป็นรูปเช่นกับรูปตะขาบ เพื่อต้องการประดับจีวร ติดผ้าดาม
ก็ดี ทำรูปแปลกประหลาดที่เย็บด้วยเข็มอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้อื่นไว้ก็ดี รูปช้อง
ผมหรือรูปโซ่ไว้ที่ริมตะเข็บ หรือที่ชายผ้า ( อนุวาตจีวร ) ก็ดี วิธีที่กล่าวมา
แล้วนั้นเป็นต้นทั้งหมด ย่อมไม่ควร. การเย็บด้วยเข็มตามปกตินั่นแหละ จึง
ควร. เขาทำผ้าลูกดุมและผ้าห่วงลูกดุมไว้ 8 มุมบ้าง 16 มุมบ้าง, ที่ลูกดุม